วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่น !! การทำน้ำมะตูม !!

ภูมิปัญญาท้องถิ่น !!!!

! วันนี้ขอเสนอเรื่อง การทำน้ำสมุนไพร !

ขั้นตอนการทำ
1. นำมะตูมมาหั่นเป็นชิ้นๆ แล้วตากให้แห้ง
2. นำมะตูมที่ตากแห้งแล้ว มาย่างไฟให้หอม
3. นำน้ำใส่หม้อตั้งไฟ พอน้ำเดือด ใส่มะตูมที่ย่างแล้วลงไป แล้วนำน้ำตาลทรายใส่ลงไป
4. รอจนน้ำเดือน และให้ทัพพีกดที่เนื้อมะตูมว่าเนื้อของมะตูมตัดขาดหรือเปล่า ถ้าเนื้อมะตูมขาดก็รอให้น้ำมะตูมเดือนอีกครั้ง ยกลงจากไฟ
5. ตักน้ำมะตูมใส่แก้วเติมน้ำแข็ง และถ้าต้องการให้รถชาติอร่อยออกหวานออมเปรี้ยว ให้ฝานมะนาวเป็นชิ้นเล็กใส่เติมลงไปในแก้วทั้งชิ้น จากนั้นรับประทานได้เลย


หมายเหตุ น้ำมะตูมทำให้รู้สึกสดชื่น แก้ดับกระหาย แก้ร้อนใน

โดย นายวิชทชา ครึกครื้น วิทยากร





โครงการประหยัดน้ำ - ไฟ

โครงการ การช่วยกันประหยัดน้ำ - ไฟฟ้า ในโรงเรียนและที่บ้าน

1.หลักการและเหตุผล
โรงเรียนบ้านวังข่อย เลขที่ 298 หมู่ที่ 4 ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีนักเรียน 68 คน ครู 6 คน จากการสังเกตของคณะผู้จัดทำโครงการพบว่า
นักเรียนบางคนมักจะเปิดน้ำแล้วทิ้งไว้ ไม่ยอมปิด ทำให้ค่าใช้จ่ายภายในโรงเรียนต้องเพิ่มขึ้น
นอกจากนั้นในการใช้ไฟฟ้าภายในโรงเรียนก็เช่นเดียวกัน มักจะเปิดไฟ หรือเปิดพัดลมทิ้งไว้
คณะผู้จัดทำจึงตระหนักในการประหยัด และเพื่อเป็นการทำดีถวายในหลวงในปีการศึกษา 2551
จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
2.วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้นักเรียนช่วยกันประหยัดค่าน้ำค่าไฟฟ้าภายในโรงเรียนและที่บ้าน
2.2 เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบและประหยัดค่าใช้จ่าย
2.3 เพื่อเป็นการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติและใช้ในชีวิตประจำวัน
3. การดำเนินการ
3.1 ประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องการประหยัดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าภายในโรงเรียน และที่บ้าน
3.2 ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนในโรงเรียนร่วมมือกันประหยัดน้ำประหยัดไฟ
3.3 แต่งตั้งคณะทำงานคอยดูแลเกี่ยวกับการปิดน้ำ ปิดไฟฟ้า และพัดลม ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด
4. งบประมาณ 500 บาท
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
5.1 นักเรียนช่วยกันประหยัดค่าน้ำค่าไฟฟ้าในโรงเรียนและที่บ้าน
5.2 นักเรียนมีความรับผิดชอบและรู้จักประหยัด
5.3 นักเรียนนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติและใช้ในชีวิตประจำวัน
5.4 นักเรียนเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่ในสังคมอย่างมี ความสุข

คณะผู้จัดทำ

นายนนทศักดิ์ ยุวดีรักษา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังข่อย ที่ปรึกษา
นายประกอบ มาตโห้ ครู ที่ปรึกษา
1. เด็กหญิงสุพรรษา ทับทิมทอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หัวหน้า
2. เด็กหญิงชนากานต์ ผาสุก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รอง
3. เด็กหญิงเสาวรักษ์ สร้อยจิตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ช่วย
4. เด็กหญิงนรินทิพย์ สุกสี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ช่วย
5. เด็กหญิงยุพิน เทพา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ช่วย / เลขา


วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

บุคลากรโรงเรียนบ้านวังข่อย

นายนนทศักดิ์ ยุวดีรักษา ผู้อำนวยการโรงเรียบ้านวังข่อย

Tel. 085 - 8285528

วุฒิการศึกษา ศษ.บ. เข้ารับราชการ วันที่ 21 มิถุนายน 2521

เกิดวันที่ 19 สิงหาคม 2501



นางศรีสมร พานพ่วง Tel. 081 - 9918506

วุฒิการศึกษา ศษ.บ. เข้ารับราชการวันที่ 22 พฤษภาคม 2521

เกิดวันที่ 21 เมษายน 2502






นางบุญเรือน รักขิตเลขา Tel. 087 - 1574872

วุฒิการศึกษา คบ. เข้ารับราชการวันที่ 1 พฤษภาคม 2534

วันเกิด 26 เมษายน 2505




นายประกอบ มาตโห้ Tel. 084 - 0219775

วุฒิการศึกษา ศษ.บ. เข้ารับราชการ 1 พฤษภาคม 2523

เกิดวันที่ 15 พฤษภาคม 2502





นายกำพู คงแถวทอง Tel. 084 - 1428263

วุฒิการศึกษา คบ. เข้ารับราชการ 27 สิงหาคม 2527

เกิดวันที่ 16 ตุลาคม 2502







นายชาติชาย บุปผาชาติ Tel.086 - 1626828

วุฒิการศึกษา ศษ.บ. เข้ารับราชการวันที่ 16 พฤษภาคม 2523

เกิดวันที่ 9 ธันวาคม 2503
นายประทิน พลอยแสง Tel. 089 - 5471334
วุฒิการศึกษา คบ. เข้ารับราชการวันที่ 1 กรกฎาคม 2526
เกิดวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2503

คำขวัญโรงเรียน


คำขวัญของโรงเรียน


เด็กดี มีความรู้ คู่คุณธรรม


ปรัชญาของโรงเรียน


พัฒนาความรู้คู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน


เน้นคุณภาพชุมชนช่วยพัฒนา อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมคุณธรรมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประวัติของโรงเรียนบ้านวังข่อย





ประวัติโรงเรียนบ้านวังข่อย

โรงเรียนบ้านวังข่อยเดิมเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านห้วยมงคลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2520 จากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านวังข่อยและชาวบ้านปุ่มมะค่า โดยการนำของผู้ใหญ่บ้าน ชื่อนายแหว่ว เอี่ยมศิริ
พร้อมคณะชาวบ้าน ได้ช่วยกันจัดกาวัสดุในการปลูกสร้าง สร้างเป็นอาคารชั่วคราวขนาดกว้าง 9.0 เมตร ยาว 15.0 เมตร ฝาและหลังคามุงด้วยสังกะสี ตั้งอยู่ห่างจากถนน ร.พ.ช. ประมาณ 500 เมตร เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 มีนักเรียนทั้งสิ้น 84 คน ชาย 38 คน หญิง 46 คน มีนายวิชัย ทองเกลี้ยง ครูโรงเรียนบ้านหนองขอนมารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ นายปัญญา วงศ์ชื้น ครูโรงเรียนบ้านหนองพรานพุก นางสาวทรรศวร เกิดสวัสดิ์ ครูโรงเรียนบ้านห้วยมงคล มาช่วยทำการสอน
ต่อมาหมวดการศึกษาอำเภอหัวหิน เห็นว่าที่ตั้งโรงเรียนอยู่ห่างจากถนนเกินไปทางโรงเรียนจึงดำเนินการเรื่องขอแลกที่ดินกับชาวบ้าน ซึ่งอยู่ติดกับถนน มีเนื้อที่ 8 ไร่ 70 ตารางวา และยังได้ติดต่อกับศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์ อำเภอปราณบุรี เพื่อขอรถ 2 คัน กับรถชาวบ้านอีก 4 คัน มาช่วยกันปรับพื้นที่ซึ่งเป็นจอมปลวกใหญ่ซึ่งมีอยู่มากใช้เวลา 2 วัน จึงทำการปรับพื้นที่ให้พอที่จะตั้งอาคารเรียนได้ ชาวบ้านจึงได้มาช่วยกันหรืออาคารเดิมมาปลูกในพื้นที่ใหม่ ใช้เวลา 5 วัน จึงแล้วเสร็จ ได้ทำพิธีเปิดอาคารเรียนหลังใหม่ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2520 โดยมีหัวหน้าหมวดการศึกษา มาเป็นประธานเปิด ในวันนั้นได้มีผู้บริจาคโต๊ะครู 3 ชุด กับถังน้ำฝนจำนวน 3 ใบ
ต่อมาทางราชการได้กำหนดว่าโรงเรียนที่จะจัดตั้งควรมีเนื้อที่อย่างน้อย 1 ไร่ขึ้นไปพร้อมมีอาคาร 1 หลัง จึงตั้งเป็นโรงเรียนได้ ดังนั้นโดยการนำของผู้ใหญ่แหว่ว เอี่ยมศิริ พร้อมคณะกรรมการศึกษาและประชาชนในท้องถิ่นได้รวบรวมเงินได้ 12,000 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน) ซื้อที่ดินได้อีก 3 ไร่ พร้อมกันนี้ได้ติดต่อกับบริษัทสัปปะรดกระป๋องไทย (ไต้หวัน) มาช่วยออกทุนทรัพย์เพื่อสร้างอาคารเรียนแบบถาวรให้อีก 1 หลัง มีจำนวนห้องเรียน 4 ห้อง ตัวอาคารมีขนาดกว้าง 8.5 เมตร ยาว 36 เมตร พร้อมส้วมอีก 1 หลัง มี 5 ห้อง ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 5 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2521 ทางราชการได้ส่งนางจรรยา ส้มเขียวหวานมาเป็นครูใหญ่แทนนายวิชัย ทองเกลี้ยงซึ่งย้ายกลับโรงเรียนเดิม ปี พ.ศ. 2522 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนให้ 1 หลัง จำนวน 5 ห้องเรียน เป็นอาคารแบบ ป.1จ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 400,000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน) พร้อมสร้างบ้านพักครูตามแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในวงเงิน 85,000 บาท (แปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. 2525 นายสำเภา ประจวบเหมาะสมาชิกสภาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้บริจาคทรัพย์สร้างบ่อน้ำบาดาล เป็นเงิน 45,000 บาท (สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน) และซื้อคอนกรีต 48,250 บาท (สี่หมื่นแปดพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. 2526 ได้งบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช. 202/26 เป็นเงิน 200,000 บาท
(สองแสนบาทถ้วน) และส้วมแบบ สปช. 601/26 เป็นเงิน 40,000 บาท
ปี พ.ศ. 2527 ได้รับจัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 102/26 อีกหนึ่งหลัง จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 280,000 บาท (สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. 2528 ได้งบประมาณสร้างเรือนเพาะชำแบบ พ.1 จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. 2529 ได้งบประมาณติดตั้งไฟฟ้าโรงเรียนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2531 ทางราชการส่งนายประยูร คล้ายจำลอง มาเป็นอาจารย์ใหญ่แทนนายนิเซะ มะกาเจ
ปี พ.ศ. 2532 กำนันแหว่ว เอี่ยมศิริ พร้อมคณะได้จัดสร้างหอถังน้ำประปาโรงเรียนตามแบบของกรมอนามัยซึ่งมีถังเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ที่
ปี พ.ศ. 2533 ได้งบประมาณสร้างถังน้ำฝน แบบ ฝ.30 พิเศษ จำนวน 1 ที่ 3 ถัง เป็นเงิน 48,500 บาท (สี่หมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2533
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2534 บริษัทมาเจสติค ครีกคันทรีคลับได้มาให้ความอนุเคราะห์บริจาคห้องสมุดตามโครงการห้องสมุดคิดเป็นมูลค่า 55,000 บาท (ห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ทางโรงเรียนได้ดำเนินการสร้างและได้รับมอบหมายโดยตัวแทน นายอำเภอจากบริษัทเรียบร้อยเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2538
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2536 ได้สร้างโรงเก็บรถนักเรียน โดยการนำของนางรัตนาภรณ์ เพิ่มยศ ซึ่งได้รับความอุปการะจากบริษัทเดอะมาเจสติก ครีก และนางบุศรา เถาลิโป้ สร้างเตาเผาขยะบริจาคให้แก่ทางโรงเรียน 1 ที่โดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณของทางราชการทั้งสองรายการ นายแหว่ว เอี่ยมศิริ กำนันตำบลทับใต้ และบริษัทเดอะมาเจสติก ครีก นำดินมาถมสนามให้แก่ทางโรงเรียน พร้อมปรับพื้นที่ให้เรียบร้อยและใช้การได้ดี
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2538 นายอมรรัตน์ ม่วงสกุล ได้บริจาคโรงอาหารให้ 1 หลัง เป็นคอนกรีตโครงเหล็ก เป็นเงินค่าก่อสร้าง จำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
เมื่อปี 2548 โรงแรมฮิลตันได้บริจาคเงินจำนวน 115,000 บาท เพื่อสร้าง อาคารห้องสมุดให้แก่โรงเรียนจำนวน 1 หลัง และส้วม จำนวน 1 หลัง มี 3 ห้อง และทำการทาสีอาคารเรียนที่ 1 พร้อมบริจาคอาหารและเครื่องเขียนจำนวน หนึ่ง
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2549 ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดสร้าง โรงเก็บรถครูจำนวน 1 หลัง โดยจัดหางบประมาณมาเอง ประมาณ 10,000 บาท
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านวังข่อยมีบุคลากร จำนวน 10 คน ชาย 4 คน หญิง 2 คน ครูอัตราจ้างงบประมาณองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ จำนวน 1 คน พนักงานอัตราจ้างวัดห้วยมงคล จำนวน 2 คน นักการภารโรง จำนวน 1 คน มีเด็กนักเรียนทั้งสิ้นจำนวน 77 คน เป็นนักเรียนชาย 43 คน นักเรียนหญิง 34 คน มีนายนนทศักดิ์ ยุวดีรักษาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน